รายการ ACT Now

ACT Now EP. 7 Integrity Pact และ แก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดย ACT โพสเมื่อ Dec 01,2020

 ACT Now EP. 7


ACT Now EP.7.1 - Integrity Pact ข้อตกลงคุณธรรม ข้อตกลงคุณธรรมเป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐลุล่วงไปได้ อันนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะว่าที่ผ่านมาคอร์รัปชันอันดับหนึ่ง ครึ่งหนึ่งของการคอร์รัปชันในประเทศไทย คือการคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐซึ่งไม่เคยแก้ไขได้เลยในอดีตที่ผ่านมามีงานวิจัยที่บอกว่าช่วงหนึ่งมีการจ่ายใต้โต๊ะ จ่ายสินบนกันมากถึง 30-35% แล้วแต่ในแต่ละยุคแต่ละสมัยของการเมืองว่ามีความเข้มข้นแค่ไหน หรือมีการผูกขาดอำนาจมากแค่ไหน ในบางช่วงก็ลดลงมาอาจจะเหลือเป็น 20% 15% หรือ 10% ขึ้นอยู่กับยุคสมัยจริงๆ ตัวเลขเหล่านี้ทำให้เราเป็นห่วงมาก คือถ้าเราไม่ทำอะไรที่จริงจัง เราจะสูญเสียมาก ปีหนึ่งประมาณ 200,000-300,000 แสนล้านบาทในแต่ละปี เราต้องเริ่มจากการป้องกัน ไม่ใช่การไปไล่จับ ไปล้างแค้นคนโกง ซึ่งประเทศชาติจะไม่ได้อะไรเลยจากจุดนั้น เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด ทั่วโลกยอมรับก็คือว่าเราต้องตรวจสอบทุกอย่างให้โปร่งใสเสียก่อนตั้งแต่ต้น การตรวจสอบที่ว่าก็คือว่าเอาประชาชนนี่แหละเข้ามาเป็นหูเป็นตาเพราะฉะนั้นในการร่างพรบ. จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปีพ.ศ. 2560 จึงมีการเขียนเอาไว้ชัดเจนเลยในพรบ. ฉบับนี้ก็คือว่าจะต้องมีมาตรการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ตรวจสอบในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเหล่านี้เกิดความโปร่งใสโดยเริ่มจากโครงการขนาดใหญ่ก็มีเขียนเอาไว้ส่วนหนึ่งเลย เราไปเอามาตรการสากลที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เขาใช้อยู่ในหลายประเทศทั่วโลกแล้วได้ผลดี อันนี้เราเรียกว่า "ข้อตกลงคุณธรรม" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Integrity Pact" หลักการณ์ง่ายๆ ง่ายมากเลย ถ้าคุณจะจัดซื้อโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่จะมาร่วมประมูลจะต้องเซ็นสัญญากันต่อหน้าสาธารณชนว่าเขาจะยินยอมให้ตัวแทนของภาคประชาชนมาเป็นบุคคลที่สาม ร่วมสังเกตการณ์ รับรู้ รับเห็น ข้อมูล การดำเนินงาน การตัดสินใจทุกอย่างในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการนั้น เริ่มตั้งแต่คุณจะเขียน TOR อย่างไร เสร็จแล้วประมูลกันโปร่งใสไหม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติของพรบ. จัดซื้อจัดจ้างที่ทำกันมาหลายสิบปี อย่างนี้ถูกต้องไหม สิ่งที่ได้มาเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินจริงหรือเปล่า ในช่วงการก่อสร้าง หรือการผลิต การบริหารสัญญา ทุกอย่างเป็นไปตามสิ่งที่วางแผนไว้ เมื่อจบแล้วเราได้ของดีจริงๆ ข้อตกลงคุณธรรม ภาระหน้าที่ของประชาชนที่เข้าไปเป็นตัวแทนก็จะจบ อันนี้คือสิ่งที่เรียกว่าการบังคับให้โปร่งใส การเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ข้อดีก็คือว่าข้าราชการที่ดีๆ เขาจะมีความมั่นใจมากเลยว่าเขาทำงานได้โดยไม่ต้องเกรงใจนาย ไม่ต้องเกรงใจนักการเมือง ไม่ต้องเกงใจหรือกลัวพ่อค้าจะมาบีบคอเขาให้ทำโน่นทำนี้ เขาก็จะพูดได้ว่ามีตัวแทนประชาชนมานั่งดูอยู่ มีคนรับรู้ มีคนเห็นข้อมูลทุกอย่างอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องตรงไปตรงมา 110 โครงการ มูลค่าเงินทั้งหมด 1.8 ล้านล้านบาท โครงการที่ประมูลไปแล้ว จบไปแล้ว ประหยัดเงินรวมๆ กันได้ประมาณ 24% 3ปี 5ปี เราจะประหยัดเงินกันมากขนาดไหนเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีมากและผลงานตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการยอมรับมากจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จากหลายๆ ประเทศเข้ามาดูงาน เข้ามาศึกษา มาจัดงานสัมนากัน แล้วก็เอาเคสนี้ เป็นตัวอย่างให้ประเทศอื่นได้ศึกษาเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย แต่นี้เราใช้เฉพาะกับโครงการขนาดใหญ่เท่านั้น มีโครงการที่น่าสนใจอันหนึ่ง คือโครงการย้ายเครื่องจักรของโรงงานยาสูบคือจากบริเวณคลองเตยเอาไปไว้ต่างจังหวัด โครงการมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท ผู้บริหารของโรงงานยาสูบที่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อตกลงคุณธรรมแล้วตัวท่านเองมีความตั้งใจดีที่จะทำทุกอย่างให้ลุล่วงอย่างรวดเร็วและเกิดผลประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด เพราะฉะนั้นท่านให้ความสนับสนุนเต็มที่ อยากได้ข้อมูลอะไร มีข้อเสนออะไร ท่านรับฟังและก็ระดมสรรพกำลังมาช่วยเพื่อให้เกิดผลตามนั้น ปรากฏว่าโครงการลุล่วงได้ตามกำหนดที่ต้องการ สามารถประหยัดได้ 27% สาเหตุก็เพราะว่าคนที่ได้รับการคัดสรรเข้าไปเป็นผู้สังเกตการณ์ คนเหล่านี้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจริงๆ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องในแต่ละด้าน เป็นวิศวกร เป็นนักบริหารธุรกิจหรือคนที่มีความชำนาญในเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบิน ในแต่ละโครงการก็จะมีคนที่เก่งเฉพาะเรื่องเฉพาะทาง ไปช่วยกันคิด ช่วยกันเสนอแนะ ช่วยกันทำงานและก็ช่วยกันตรวจสอบ ตรงนี้จึงทำให้เกิดความสำเร็จ





ACT Now EP.7 - 2 โครงการกำจัดขยะ กทม. 7,000 ล้าน รอดการตรวจสอบ ท่านผู้ชมผู้ฟังที่ตั้งคำถามอยู่เสมอว่าทำไมเรามีรัฐธรรมนูญฯ ปราบโกงก็แล้ว มีกฎหมายปปช. ฉบับใหม่ ที่บอกว่าคนโกงมีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต ทุกอย่างน่าจะดี แต่ไม่ได้ มีโครงการของกทม. 2โครงการที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงการคลังให้ต้องใช้ข้อตกลงคุณธรรมแล้วแต่เขาไม่ให้ความร่วมมือเลยตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา เริ่มต้นแล้ว แต่ไม่ทำตามจะถอนออกไป อันที่ 1 ก็คือโครงการขนขยะของเขตอ่อนนุช โครงการนี้มีมูลค่า 1,046 ล้านบาท ไม่ใช่น้อยเลยนะครับ มีการประกาศไปตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2562 แล้วก็มีการตัดสินได้ผู้ประมูลไป เมื่อเดือนมีนาคม ปีพ.ศ.2563 ที่ผ่านมา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โครงการนี้เขาจะถอนออกจากข้อตกลงคุณธรรม โครงการที่ 2 คือโครงการกำจัดขยะ โดยการนำไปเผาที่เขตหนองแขม โครงการนี้ใหญ่กว่านะ เฉพาะเรื่องของการขนกำจัดขยะ มูลค่า 5,600 ล้านบาท เรื่องตั้งแต่กลางปีที่แล้ว มาจนถึงปีนี้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลางปีที่ผ่านมาเลย เราจะได้ยินมีรองผู้ว่าฯ กทม. ลาออกจากตำแหน่งเพราะโครงการนี้ พูดง่ายๆ ก็คือว่าโครงการนี้มีข่าวคราวเกี่ยวกับการฉ้อฉล หรือส่อไปในทางทุจริตหลายอย่างให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมเพราะโครงการใหญ่นะครับ อาจจะเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับว่าจะมีตัวเลขส่วนแรก ก็คือเรื่องของค่ากำจัดขยะ จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน/วัน ราคาที่เขาประมูลกันได้ก็คือ 919 บาท/ตัน เป็นเงินเท่าไหร่ก็คิดกันดูนะครับ แต่ว่าจะมีอีกตัวเลขหนึ่งที่คนสนใจมากก็คือว่า ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปแปรรูป นำไปเผาเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าแต่ว่ารายได้ที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้ผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าไปอยู่ที่ไหน กทม. ได้ส่วนแบ่งหรือเปล่า หรือรัฐบาลได้ส่วนแบ่งจากตรงนี้หรือเปล่า ก็ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นในสังคม แต่เอาล่ะ เรื่องนี้ชัดเจนหรือไม่ชัดเจนอย่างไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่าทางกทม. ก็คงพยายามที่จะหาคำตอบ ทำให้คนเข้าใจอยู่ มีการเซ็นสัญญากันมาเรียบร้อยแล้วแต่ถึงวันนี้ เขาก็จะถอนโครงการนี้ออกจากข้อตกลงคุณธรรมด้วยเช่นกัน ข้อตกลงคุณธรรมเรามีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคอร์รัปชัน เพราะฉะนั้น 100 กว่า โครงการที่ทำมา ข้าราชการดีๆ เขาชอบ เขามีความสุข ทุกคนสบายใจ ประชาชนที่รู้เห็นก็สบายใจ กระทรวงการคลังหรือคนในรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก็สบายใจ โครงการเหล่านี้ลุล่วงด้วยความโปร่งใส พูดได้เต็มปากเต็มคำ ต้องเข้าใจนะ ว่าใช้ข้อตกลงคุณธรรมจะช่วยตรวจสอบการทุจริตไม่ให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับบนไปจนถึงระดับล่าง คือผู้บริหารโกงไม่ได้ข้าราชการระดับล่างๆ ก็โกงไม่ได้ แต่คราวนี้มีการตั้งเรื่องจากระดับบนเพื่อให้ถอนออก เพราะฉะนั้นตรงนี้ ผมเองสงสัย ท่านผู้ชมผู้ฟังจะสงสัยอย่างผมหรือไม่ ว่าผู้บริหารระดับสูงกำลังลดการ์ดในการป้องกันคอร์รัปชันลง ใช่หรือไม่ ท่านลดไปเพื่ออะไร ใช้ข้อตกลงคุณธรรมแล้วไม่ได้รับความร่วมมือจากอีก 2 ฝ่าย แต่คณะผู้สังเกตการณ์ได้เริ่มทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ศึกษาโครงการ ศึกษาเอกสาร ศึกษารายละเอียด และเขาได้ทำหนังสือบันทึกข้อสังเกตุ มีข้อพิรุธหรือไม่ชอบมาพากลขึ้นมาแล้วและเสนอต่อกทม. แล้ว อันนี้ใช่หรือไม่ กลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาถอนตัว



ACT Now EP.7.3 – แก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด จะแก้รัฐธรรมนูญฯ จะเขียนอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด วันนี้มีการใช้เงิน ใช้งบประมาณ ใช้อำนาจรัฐไปอย่างไร ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เป็นประโยชน์กับส่วนรวมหรือเกิดประโยชน์กับใครบางคนเป็นการเฉพาะหรือไม่ และเมื่อประชาชนพูด แสดงความคิดเห็นแล้ว ทุกคนจะต้องได้รับการปกป้องจากรัฐบาล ปกป้องจากหน่วยงานราชการ เป็นการปกป้องตามกฎหมายในฐานะของประชาชนอย่างเต็มที่ ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 41 เขียนไว้ชัดเจนบอกว่าประชาชนและชุมชนย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ อันนี้มีความชัดเจนครับ เพื่อเป็นหลักประกันว่าใครใช้อำนาจรัฐอย่างไร ประชาชนจะต้องได้รับรู้ในสิ่งเหล่านั้น ส่วนมาตรา 63 เขียนเอาไว้ว่ารัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับการคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ ตรงนี้เป็นสาระสำคัญที่พึ่งเขียนในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้เป็นครั้งแรก เป็นการให้ความสำคัญในการปกป้องประชาชนที่จะทำหน้าที่แสดงการหวงแหนผลประโยชน์ของตัวเอง ทรัพยากรของประเทศชาติ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะอยู่ในสังคมที่มีความโปร่งใส เท่าเทียม และเป็นธรรม